Zen Garden
" หากคุณผู้อ่านได้มีโอกาสไปท่องเที่ยวในแดนอาทิตย์อุทัย และเคยได้เข้าไปสักการบูชาที่วัดวาอารามที่มีสวนแบบญี่ปุ่นซ่อนตัวอยู่ภายในแล้วละก็ คุณอาจจะต้องประทับใจและหลงใหลในความสวยงามอันสงบร่มเย็นของสวนญี่ปุ่นในวัดแห่งนั้นเป็นแน่ "
รูปแบบของสวนของญี่ปุ่นนั้นได้มีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพสังคม สภาพภูมิประเทศ และอิทธิพลสวนจากประเทศจีน ผนวกกับความเชื่อในเรื่องของจิตวิญญาณ จากศาสนาชินโตจากศาสนาพุทธและลัทธิเซน ที่เคารพในการอยู่ร่วมกับธรรมชาติ ก่อเกิดเป็นพื้นที่ของความมีสมาธิไม่เร่งรีบ การเรียนรู้ และซ่อนปรัชญาทางศาสนาเอาไว้ ที่ทำให้สวนญี่ปุ่นมีเอกลักษณ์และความลุ่มลึก เป็นพื้นที่ที่เรียกได้ว่ามีครบในทุกหลักการ ของ “วาบิ ซาบิ” ของชาวญี่ปุ่น การจัดสวนของญี่ปุ่น เป็นงานศิลปะที่ใช้สัญลักษณ์ต่างๆ ทั้งหมดนั้นล้วนเป็นส่วนสำคัญในการเป็นตัวแทนของการเลือกใช้ ก้อนหิน ต้นไม้ และ น้ำ จึงล้วนแล้วแต่มีความหมายทั้งสิ้น
*“วาบิ ซาบิ““ ว่าด้วยเรื่องสรรพสิ่งนั้นไม่สมบูรณ์แบบ เป็นความงามที่ไม่ต้องการรูปแบบแห่งความสมบูรณ์ เพราะทุกสิ่งสมบูรณ์ในความไม่สมบูรณ์ขอตัวมันเองแล้ว
ประวัติความเป็นมา
จุดเริ่มต้นสวนญี่ปุ่นนั้นได้รับอิทธิพลมาจากสวนของจีน ที่แฝงตัวมาพร้อมๆกับการเผยแพร่เข้ามาของศาสนาพุทธ ซึ่งเป็นศาสนาพุทธลัทธิแบบมหายาน เน้นแนวทางทางการปฏิบัติ โดยให้ผู้ปฏิบัติธรรมปลีกตัวเข้าสู่ความเงียบในธรรมชาติ และทำสมาธิเพื่อให้เกิดปัญญา การจัดสวนในญี่ปุ่นจึงมีจุดเริ่มต้นจากในวัดเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่เงียบสงบนั้นขึ้นมา ในเวลาต่อมาจึงเริ่มกระจายความนิยมสู่บ้านเรือนประชาชนทั่วไป
การสร้างสวนญี่ปุ่นจะใช้การเลือกวัสดุเป็นตัวแทนสิ่งที่อยู่ในธรรมชาติ อาทิเช่น ภูเขา น้ำตก แต่ด้วยการเป็นประเทศที่มีเนื้อที่จำกัด ทำให้ชาวญี่ปุ่นต้องสร้างสวนที่มีขนาดย่อมลงมาในพื้นที่เล็กๆ ให้สามารถมองได้จากหลากหลายทิศทางรอบๆสวน หรือหากอยากจะชมสวนสวยจากภายในห้อง ก็มักจะมีระเบียงหรือชานที่เป็นตัวเชื่อมระหว่างพื้นที่ภายในอาคารกับพื้นที่ภายนอก ใช้การเลื่อนฉากบานเลื่อนออกได้เต็มความกว้างของผนังเปิดมุมมองให้เต็มที่
" ออกแบบจัดวางสวนเซนให้เข้ากับพื้นที่มุมเล็ก ๆ ในบ้าน เพียงเท่านี้คุณก็สามารถหามุมสงบ มุมพักผ่อน โดยไม่จำเป็นต้องใช้พื้นที่มากมายอะไร เหมาะกับ บ้านที่มีพื้นที่จำกัด โดยเราสามารถจัดวางสวนเซน ได้ตามความต้องการ เช่น หน้าบ้าน หลังบ้าน มุมหลังโต๊ะทานอาหาร เพียงเท่านี้คุณก็สามารถสัมผัสความสงบแบบเซนได้ทุกเวลาที่ต้องการ"
นอกจากนี้คุณยังสามารถจัดสวน หรือทำทางเดินในบ้านให้กลายเป็น อาณาเขตแห่งสวนเซนได้อย่างง่ายดาย เพียงแค่ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของ DPD Team ในการออกแบบ จัดวาง ทางเดินและสวนมุมโปรดของคุณ ให้กลายเป็นมุมพักผ่อนที่คุณใช้เวลาว่างได้อย่างลงตัว
รูปแบบของสวนญี่ปุ่น
1.Tsukiyama (สวนเนินเขา)
เป็นสวนลอกเลียนแบบลักษณะของธรรมชาติมาไว้ในที่จำกัด เช่นการสร้างตัวแทนของภูเขาไฟฟูจิ และความเขียวขจีโดยรอบ อย่างภูเขา เนินดิน ทะเลหรือลำธาร การจัดสวนแบบสวนเนินเขาจึงให้มิติทางประสาทสัมผัสได้หลากหลายกว่าแบบอื่นๆ เหมาะที่จะนำมาประยุกต์ใช้จัดสวนญี่ปุ่นในเมืองไทยได้ เพราะมีความยืดหยุ่นและสามารถดัดแปลงทั้งในเรื่องการจัดหาต้นไม้หรือองค์ประกอบอื่นๆมาใช้ให้ได้รูปแบบที่ใกล้เคียงกันได้
2. Karesansui (สวนเซน)
สวนเซนเป็นที่รู้จักกันว่าเป็น ‘สวนแห้ง’ หรือ ‘สวนหิน มีแนวคิดในการยึดมั่นซึ่งสงบสันโดษ เป็นสวนแบบจินตนาการ หรือการสมมุติ ที่แฝงไว้ด้วยปรัชญาเชิงนามธรรม จึงเน้นความเรียบง่าย สงบ มากกว่าแบบอื่น เน้นการตีความจากสิ่งที่มองเห็นและสัมผัส มีลักษณะภูมิทัศน์แบบแห้งที่ต่างออกไปจากสวนตามประเพณี จะไม่เลือกใช้ของที่เป็นธาตุน้ำใดๆ จะเลือกใช้พืชพันธุ์สีเขียวให้น้อยที่สุด เหมาะกับบริเวณที่มีพื้นที่จำกัด เพราะไม่นิยมปลูกต้นไม้มากหลายต้น อาจจะมีตะไคร่น้ำหรือพืชขนาดเล็ก โดยสีเขียวของพืชพันธุ์อาจจะถูกจัดให้บดบังไว้ด้วยหิน โดยใช้แนวทางการลดทอนรายละเอียดต่างๆ จนเหลือแต่แก่นแท้ของสวนนั้น
มีการใช้ก้อนหินเป็นตัวแทนของภูเขา มีทรายและ กรวดเป็นสัญลักษณ์ของแม่น้ำ จะมีการปูกรวดหรือทราย โดยใช้หิน กรวด ทรายสีขาว และสีดำ ซึ่งหินหรือทรายอาจถูกกวาดเป็นลวดลายให้เป็นสัญลักษณ์ของทะเล,มหาสมุทร, แม่น้ำ หรือทะเลสาบ จะกวาดให้มองเห็นเป็นภาพลวงตาของคลื่นระลอกน้ำ เป็นเส้นกระแสน้ำที่ลื่นไหล ซึ่งการที่จะกวาดเส้นให้ได้ลวดลายสมบูรณ์แบบนั้นก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ จึงถือเป็นหนึ่งในการฝึกตนและการฝึกสมาธิ ตามหลักการของพุทธศาสนานิกายเซนนั้นไปด้วยนั่นเอง
" DPD สามารถเนรมิตริมทางเดินของบ้านให้กลายเป็นสวนสวยตามแบบฉบับของ
Zen Garden โดยมีโจทย์คือประยุกต์กับความเป็นสมัยใหม่กลายเป็น
สวน Zen Modern Garden ตามแบบฉบับของ DPD Garden "
3.Chaniwa (สวนน้ำชา)
เอกลักษณ์โดดเด่นอีกสิ่งหนึ่งของสวนญี่ปุ่น นั้นก็คือ สวนน้ำชา ในประเทศญี่ปุ่นจะมีการแยกห้องชงชาออกจากตัวบ้านมาอยู่ติดกับสวนน้ำชา รูปแบบของสวนน้ำชาจะมีความถ่อมตัว มีความเรียบง่าย และเป็นธรรมชาติ โดยนำลักษณะเด่นของสวนภูเขาและสวนเซนมาจัดให้ผสมผสานกัน มีทั้งต้นไม้ใหญ่และสวนพื้นหิน ในสวนน้ำชาจะมีรั้วด้านนอกเพื่อแสดงขอบเขต มีทางเดินเข้าสู่เรือนน้ำชาที่จะปูด้วยหินสกัดแบนหรือเขียงไม้ วางห่างกันให้พอดีกับช่วงก้าวเดิน เป็นการป้องกันไม่ให้เหยียบต้นหญ้าอันบอบบางของสวน ผู้ที่เข้าจะต้องมีสติและมีสมาธิอย่างเต็มเปี่ยม เพื่อเตรียมตัวและจิตใจเข้าสู่พิธีการชงชาที่แสนสงบ
การคำนึงถึงความสอดคล้อง สัมพันธ์ระหว่างที่ว่าง ช่วงเวลา และมิติในการมองเห็น นับเป็นเสน่ห์อันโดดเด่นของสวนแบบญี่ปุ่นเลยก็ว่าได้ การค่อยๆเปิดเผยการรับรู้ในส่วนต่างๆในสวน ค่อยๆแสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของที่ว่างที่แตกต่างกันไปในแต่ละมุมมอง สวนญี่ปุ่นจะเกิดปฏิสัมพันธ์กับแทบทุกประสาทสัมผัสของมนุษย์ โดยสื่อผ่าน สี รูปทรง เส้นสาย ผิวสัมผัสของหิน ทราย ก้อนกรวด ไปจนถึงกลิ่นสัมผัสต้นสนและเกสรดอกไม้อันอ่อนละมุน